คำขวัญเมืองนครพนม

คำขวัญเมืองนครพนม

แม่โขงโยงไทย-ลาว เพริดพราวไหลเรือไฟ
เชื่อมใจไทย 10 เผ่า ภูมิลำเนาน่าอยู่ เคียงคู่พระธาตุพนม
ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

Sunday, May 22, 2011

แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม



แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน
บนถนนทางหลวงแผ่นดิน 212   ท่าอุเทน - บ้านแพง  ห่างจากอำเภอท่าอุเทน 27 กม.
  ตำบลพนอม   อำเภอท่าอุเทน    จังหวัดนครพนม


สัญลักษณ์ที่สดุดตาของ " แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน  "



ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพนอม


บ้านพนอมทุ่ง  ตำบลพนอม  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม


มาจากอำเภอท่าอุเทน


ป้ายบอกทางเขาไป " แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน "









ทางเข้าไปที่ ( ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว )   " แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน "












อาคารที่เห็นคิดว่าน่าจะเป็น  ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว  วันที่ไปไม่เจอใครซักคนเลย



มีห้องน้ำสะอาดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


วันนี้  ไม่มีใครอยู่ที่สำนักงานเลย  "  ร้าง  "


อาคารที่เห็นข้างหน้านี้  ไม่แน่ใจว่า ใช้งานอะไร
สงสัยว่า  จะต้องกลับมาหาข้อมูลใหม่อีกครั้งว่า  ที่นี่ มีอะไร และ มีใครทำงานบ้าง




ด.ต.วราชัย ดีบุกคำ นายก อบต.พนอม เล่าถึงความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่นี้ว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2544

ขณะที่คนงานกำลังระเบิดหินในพื้นที่ของเอกชนเพื่อนำไปก่อสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งตามแนวลำน้ำโขงก็สังเกตเห็น "รอยเท้าประหลาด" ของสัตว์ฝังอยู่ในหิน จึงได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีวิทยา นำโดย ดร.วราวุธ สุธีธร ลงพื้นที่มาตรวจสอบ ผลการตรวจสอบสร้างความตื่นตะลึงเป็นอย่างมาก เพราะรอยเท้าประหลาดที่พบ คือ รอยเท้าของ ไดโนเสาร์ นกกระจอกเทศ และ อีกัวดอน รวมทั้ง รอยเท้าจระเข้ขนาดเล็ก อีก 1 ชนิด






















รอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่


รอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน  พบอยู่ในแหล่งห้วยด่านชุม  อำเภอท่าอุเทน  จังหวัดนครพนม 
พบว่าเป็นรอยตีนไดโนเสาร์บนพื้นหินทราย  สีน้ำตาลแดง  หมวดหินโคกกรวด ในยุคครีเตเซียสตอนต้นอายุประมาณ  100  ล้านปี  แบ่งออกเป็น 2  กลุ่มคือ เทอร์โรพอตและออร์นิโธพอต 
รอยตีนไดโนเสาร์ออร์นิโธพอต มีจำนวน  1 แนวทางเดิน  ขนาดรอยตีนยาวประมาณ  18  เซนติเมตร  กว้าง 12.12  เซนติเมตร  คำนวณความสูงจากสูตรของThulborn (1989)  ได้ประมาณ  86.4  เซนติเมตร  คำนวณความเร็วจากสูตรของ Alexander(1976)  เร็วประมาณ  8.07  กิโลเมตร/ชั่วโมง  รอยตีนไดโนเสาร์เทอร์โรพอต  จำนวน  29  ทางเดิน ขนาดของรอยตีนกว้าง 6 ถึง  16.1  เซนติเมตร  ยาว  10 ถึง  18  เซนติเมตร ประมาณความสูงได้  48 เซนติเมตรถึง 75.15  เซนติเมตร  มีความเร็วประมาณ  4.53 ถึง 11.66  กิโลเมตร/ชั่วโมง
































รอยเท้าไดโนเสาร์  ขนาดเล็ก
















"  แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน  "




การมาที่ " แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน  "  ในครั้งนี้
ไม่ได้เจอเจ้าหน้าที่ซักคน ก็เลยไม่มีรายละเอียดมาเล่าให้ฟัง  ไว้โอกาศหน้าจะอัปเดทใหม่อีกที
คราวนี้  ก็ชมภาพสวยๆ และ คลิป Full HD  ไปพลางๆ ก่อนนะครับ







ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  212  ท่าอุเทน  -  บ้านแพง  กม. ที่  27

(  รอการอัปเดท ข้อมูลอีกครั้งนะครับ    สวัสดี     )